จริงๆแล้วพวกเขาคิดอะไรอยู่อยากรู้แล้วสิ
มาหาคำตอบกันเลย!นอนรีวิวกับจิตวิทยามีคำตอบเผยจิตใต้สำนึกของคนที่แท้จริงออกมา บทที่ 1 จริงๆแล้ว พวกเขาคิดอะไรอยู่ พวกเขาคิดถึงเราหรือเปล่า พวกเขากำลังคุยถึงเราหรือเปล่า เพราะเขาอิจฉาเราหรือเปล่า พวกเขานินทาเราหรือเปล่า
หากตั้งใจพิจารณาสิ่งที่ผู้คนพูด วิธีที่พวกเขาพูดทั้งรูปแบบภาษาและโครงสร้างประโยค จะมองออกว่าพวกเขาคิดอะไรอยู่ การสนทนาของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จะแบ่งออกได้เป็น 3 มุมมองต่อไปนี้
สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือผู้พูดได้แก่ ฉันและของฉัน หรือเราและของเรา
สรรพนามบุรุษที่ 2 หรือผู้ฟังได้แก่ คุณและของคุณ
สรรพนามบุรุษที่ 3 หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงได้แก่ เขาและของเขา เธอและของเธอ หรือพวกเขาและของพวกเขา
เมื่อมองเผิน ๆ สรรพนามเหล่านี้อาจดูเหมือนคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ให้ต้องพูดคำเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้ามองในมุมภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา psycholinguistic สรรพนามสามารถเผยให้เห็นว่าคนคนนั้นกำลังพยายามรักษาระยะห่าง หรือแยกตัวออกจากคำพูดของตัวเองโดยสิ้นเชิงอยู่หรือไม่ ในทำนองเดียวกันกับคนที่โกหกอย่างไร้เล่ห์เหลี่ยม อาจหลบตาเพราะการสบตาคือการเพิ่มความใกล้ชิด และทำให้คนที่กำลังโกหกรู้สึกผิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จิตใต้สำนึก ของคนเหล่านี้มักหาวิธีเว้นระยะห่างจากคำพูดของตัวเอง
ดังนั้น การเลี่ยงไม่ใช้สรรพนามแทนตัวเอง จึงเป็นการกระทำที่ส่งสัญญาณว่าคน ๆ นั้นไม่อยากรับผิดชอบในคำพูดของตัวเอง ตัวอย่างการกล่าวคำชมในชีวิตประจำวัน ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งเชื่อมั่นในคำพูดของตัวเอง เธอมักจะใช้สรรพนามแทนตัวเองเช่น ฉันชอบการนำเสนอของคุณจริง ๆ แต่ถ้าหากเธอพยายามประจบประแจงอย่างไม่จริงใจก็อาจใช้คำพูดว่า การนำเสนอยอดเยี่ยมเลย วิธีพูดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าเธอดึงตัวเองออกจากสนทนาโดยสิ้นเชิง ผู้ที่อยู่ในแวดวงการบังคับใช้กฎหมายคุ้นเคยกับหลักการนี้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าไม่สามารถตัดสินความซื่อสัตย์ของใครได้จากการฟังคำพูดเพียงประโยคเดียว แต่มันถือเป็นเบาะแสแรกที่สำคัญ.
สร้างระยะห่างผ่านการใช้ภาษาต่อกับบ่งบอก
การเปลี่ยนรูปประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ active voice ไปเป็นรูปประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ passive voice ก็อาจบ่งบอกถึงความไม่จริงใจได้ การใช้รูปแบบประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำนั้นมีความชัดเจนและตรงไปตรงมา โดยแสดงออกว่าคน ๆ นั้นหรือคนกลุ่มนั้นเป็นผู้กระทำอะไรบางอย่างในประโยคด้วยตัวเอง ส่วนการใช้รูปประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ เป็นการบ่งบอกว่าประธานเป็นฝ่ายถูกกระทำโดยคนอื่นหรือสิ่งอื่น เมื่อใช้ภาษาในแบบที่ดึงตัวเองออกจากการเป็นผู้กระทำ ก็เหมือนกับได้ส่งข้อความที่ซ่อนไว้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ พวกเขาคิดอยู่ในใจ ออกไป การใช้รูปประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือเลี่ยงไม่ใช้บุรุษสรรพนามจะช่วยลดแรงกระแทกของข้อความที่อาจถูกตีความแบบผิด ๆ หรือก่อให้เกิดการเผชิญหน้า เพราะรูปประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ และมีการใช้สรรพนามแทนตัวเอง จะถ่ายทอดความหนักแน่นไปที่ข้อความ จึงเป็นการบ่งบอกถึงความพึงพอใจ และความภาคภูมิใจด้วยว่า พวกเขาคิดอะไรอยู่
จุดแบ่งแยกสำคัญกับทุกสิ่งให้ได้
การใช้ภาษาเพื่อสร้างระยะห่างมีอยู่หลายประเภท มีจุดสังเกตทางภาษา 2 ประการ โดยประการแรกคือภาวะทางความรู้สึกที่รุนแรง มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างไวยากรณ์ที่เรียบง่ายกว่า ไม่ใช่โครงสร้างที่หรูหรากว่า ประโยคที่เต็มไปด้วยความรู้สึกและความจริงใจ จะกระชับและตรงประเด็น การใช้มุกซ้ำซากและการเปรียบเปรยที่น่าสงสัยมากเช่นกัน บางคนมักใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อสร้างภาพให้ตัวเองดูเป็นคนอ่อนไหว ซึ่งเป็นการพยายามถ่ายทอดความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริง การผลิตความรู้สึกกินพลังทางความคิดอย่างมาก คนเหล่านี้จึงหันไปใช้คำพูดที่หยิบยืมมา.
การใช้คำสุภาพที่ดีต่อผู้คนใกล้ชิด
คำบางคำจะกระตุ้นความรู้สึกเชิงลบ ส่วนคำสุภาพ euphemisms ช่วยลดผลกระทบทางความรู้สึกได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพนักงานขายที่ดีจึงไม่บอกว่า ลงชื่อในสัญญานี้ แต่มักจะให้คำแนะนำว่า ลองดูว่าเอกสารโอเคไหม แม้ว่าทั้งสองประโยคจะนำไปสู่การกระทำเดียวกัน แต่โดยสัญชาตญาณลึก ๆ แล้ว จะรู้สึกระแวดระวังเมื่อต้องลงชื่อในสัญญา โดยไม่มีโอกาสให้ทนายตรวจสอบเสียก่อน ในขณะที่การดูว่าเอกสารโอเคไหม เป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องกังวลอะไรมาก การใช้คำสุภาพบอกกลาย ๆ ว่าผู้พูดต้องการลดทอนหรือเบนความสนใจจากความตรงไปตรงมา และอาจจะพยายามลดก็เรียกร้อง หรือภาระรับผิดชอบซึ่งกังวลว่าสิ่งที่พูดไปจะไม่ได้รับการยอมรับ รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่กำลังพูด หรือทุกข้อรวมกัน.
นี่กับนั่นมันต่ากันอย่างไร
จิตใต้สำนึก ของผู้พูดมักเชื่อมโยงกับตัวผู้พูด ผู้ฟัง เนื้อหาของการสนทนา หรือวัตถุประสงค์ของการสนทนา ซึ่งมักจะเชื่อมโยงผ่านสิ่งที่เรียกว่าความใกล้ชิดเชิงพื้นที่ spatial immediacy คำกริยาวิเศษณ์อย่าง นี้กับนั่น เหล่านี้กับเหล่านั้น และนี่กับนั่น แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือสิ่งของต่าง ๆ กับตัวผู้พูด ภาษาที่สะท้อนถึงความใกล้ชิด และการเชื่อมโยงมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกของผู้พูดก็จริง แต่ไม่ควรด่วนสรุปว่ามันเหมือนกับการใช้ภาษาเพื่อสร้างระยะห่าง เรื่องนี้มีความซับซ้อนทางจิตวิทยาอยู่มากมาย
เนื่องจากการใช้ภาษาเพื่อสร้างระยะห่างนั้น อาจสะท้อนถึงกลไกการป้องกันตัวทางจิตวิทยาที่เรียกว่า การแยกตัว detachment สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานของการใช้ภาษา ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในวงแคบ ๆ คำพูดเพียงประโยคเดียวไม่สามารถพิสูจน์ได้ทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น ลองคิดดูว่าคนที่มีบุคลิกแบบเปิดเผย extrovert มักชื่นชอบการพูดจากมุมมองของตัวเอง ส่วนคนที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว introvert มักเว้นระยะปลอดภัยไว้ 1 ช่วงแขนเสมอ คำพูดเพียงประโยคเดียวนี้ไม่สามารถนำมาใช้ยืนยันได้ว่า แต่ละคนมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเนื้อหาที่มีชื่อว่า
พวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ อ่านแล้วรู้สึกยังไงบ้าง คิดออกแล้วหรือยัง ลองหาวิธีแล้วลองใช้ดูนะเผื่อมันจะมีประโยชน์สำหรับคุณได้ ยังมีอีกหลายบทความเลยนะที่เกี่ยวกับ
จิตวิทยาเดี๋ยวจะมาลงให้อ่านกันเรื่อยๆฝากกดติดตามกันด้วยนะเดี๋ยวทาง"
นอนรีวิว"จะมาอัพเดท บทความไม่อ่านกันเรื่อยๆนะ ขอบคุณที่ติดตามและอ่านบทความกับ
นอนรีวิวจิตวิทยา
เขียนโดย : จิตวิทยานอนรีวิว