ทุกคนมองหรือรู้สึกกับคนอื่นอย่างไร
บทที่ 2 คนเรามองหรือรู้สึกกับคนอื่นอย่างไรมาหาคำตอบกันได้ในบทที่2
ผู้คนที่อยู่ในแวดวงการบังคับใช้กฎหมายรู้ว่า เหยื่ออาชญากรรมรุนแรงจะไม่ค่อยใช้คำว่าเรา พวกเขามักจะกล่าวถึงเหตุการณ์ในลักษณะที่แยกตัวเองออกจากผู้ก่อเหตุ โดยแทนผู้ที่ทำร้ายพวกเขาด้วยคำว่าเขาหรือเธอและแทนตัวเองว่าฉัน การอธิบายเรื่องราวโดยใช้คำว่าเราใน "เชิงจิตวิทยา" อาจแสดงถึงความสนิทสนมและสื่อความหมายถึงการคบค้าสมาคม ความสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งการให้ความร่วมมือ
สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้สังเกต"บทสนทนา"ที่ไม่มีพิษมีภัยในชีวิตประจำวันได้ ผลการวิจัยชี้ว่าคู่แต่งงานที่ใช้ภาษาที่แสดงถึงความ"ร่วมมือกัน" มากกว่าการใช้ภาษาแบบเน้นความเป็นปัจเจกบุคคล จะมีอัตราการหย่าร้างต่ำกว่า และรายงานว่ารู้สึกพอใจในชีวิตแต่งงานมากกว่าในแวดวงธุรกิจก็เช่นกัน งานวิจัยพบว่าบริษัทที่พนักงานมักเอ่ยถึงที่ทำงานของตัวเองว่า บริษัทนี้หรือบริษัทนั้นแทนที่จะพูดว่าบริษัทของฉันหรือบริษัทของเรา และเรียกเพื่อนร่วมงานของตัวเองว่าพวกเขาแทนที่จะเป็นเพื่อนร่วมงานของฉัน มักมีกำลังใจในการทำงานต่ำ และมีอัตราการเปลี่ยนงานสูง
สิ่งแทนเชิงสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน
คุณแม่มือใหม่กำลังพับเสื้อผ้าของลูกน้อย เธอยิ้มออกมาระหว่างหยิบเสื้อผ้าตัวจิ๋ว ที่ซื้อมาด้วยความรักออกจากตะกร้าทีละตัวแล้วลูบให้เรียบ เธอเรียงเสื้อผ้าที่สะอาดซ้อนกันอย่างเรียบร้อย และวางลงในลิ้นชักตู้เก็บของเด็ก เธอถอนหายใจด้วยความพึงพอใจ ชื่นชมฝีมือตัวเองแล้วจึงปิดลิ้นชัก จากการที่เธอทำงานบ้านแสนน่าเบื่อด้วยความสุข